image

WAT PORTAL

วัดอรุณราชวราราม
วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก
ข้อมูลทั่วไป
  • ชื่อ : วัดอรุณราชวราราม
  • ที่ตั้ง : แขวงวัดอรุณ เขตเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
  • นิกาย : มหานิกาย
  • ชนิด : วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
  • ประเภทวัด : พระอารามหลวง, วัดเพื่อการท่องเที่ยว
  • วัน - เวลาเปิด :
    วันอาทิตย์
    : 08:30 - 18:00
    วันจันทร์
    : 08:30 - 18:00
    วันอังคาร
    : 08:30 - 18:00
    วันพุธ
    : 08:30 - 18:00
    วันพฤหัสบดี
    : 08:30 - 18:00
    วันศุกร์
    : 08:30 - 18:00
    วันเสาร์
    : 08:30 - 18:00

ข้อมูล

สาเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 

ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

 

ลำดับเจ้าอาวาส
นับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ วัดอรุณราชวรารามมีเจ้าอาวาสสืบลำดับมา ดังนี้
1    พระโพธิวงศาจารย์      -
2    พระธรรมไตรโลกาจารย์       -
3    พระพุทธโฆษาจารย์ (คง)     พ.ศ. 2362   -  ?  
4    สมเด็จพระวันรัต (เซ่ง)         ?  -  พ.ศ. 2419
5    พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ทอง)      พ.ศ. 2419  -  พ.ศ. 2424
6    พระเทพโมลี (ฑิต อุทโย)       พ.ศ. 2424  -  พ.ศ. 2431
7    พระราชมุนี (ปุ่น ปุณฺณโก)      พ.ศ. 2438  -   พ.ศ. 2441
8    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ)      พ.ศ. 2444   -  พ.ศ. 2456
9    พระธรรมเจดีย์ (อุ่ม ธมฺมธโร)      พ.ศ. 2456   -   ?
10    พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค)    พ.ศ. 2468   -  พ.ศ. 2488
11    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ)    พ.ศ. 2489  -   พ.ศ. 2520
12    พระธรรมคุณาภรณ์ (เจียร ปภสฺสโร)    พ.ศ. 2520   -   พ.ศ. 2524
13    พระธรรมสิริชัย (บุญเลิศ โฆสโก)    พ.ศ. 2525   -  พ.ศ. 2551
14    พระธรรมมงคลเจดีย์ (เฉลียว ฐิตปุญฺโญ)    พ.ศ. 2552  -   31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
15    พระเทพเมธี (สมเกียรติ โกวิโท)    20 มิถุนายน พ.ศ. 2561  -   ปัจจุบัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลที่มาจาก  :  https://th.wikipedia.org/wiki/วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ขอขอบคุณรูปภาพจาก  :  https://www.facebook.com/papaiwatofficial/

ขออภัย อยู่ระหว่างดำเนินการ