image

WAT PORTAL

วัดสุทัศนเทพวราราม
วัดสุทัศนเทพวราราม [สุ-ทัด-เทบ-พะ-วะ-รา-ราม] หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวัด
ข้อมูลทั่วไป
  • ชื่อ : วัดสุทัศนเทพวราราม
  • ที่ตั้ง : แขวงวัดราชบพิธ เขตเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
  • นิกาย : มหานิกาย
  • ชนิด : วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
  • ประเภทวัด : พระอารามหลวง, วัดเพื่อการท่องเที่ยว
  • ชั้น : วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
  • วัน - เวลาเปิด :
    วันอาทิตย์
    : 08:00 - 21:00
    วันจันทร์
    : 08:00 - 21:00
    วันอังคาร
    : 08:00 - 21:00
    วันพุธ
    : 08:00 - 21:00
    วันพฤหัสบดี
    : 08:00 - 21:00
    วันศุกร์
    : 08:00 - 21:00
    วันเสาร์
    : 08:00 - 21:00
  • หมายเหตุ : เป็นวัดเพื่อการท่องเที่ยว (เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้)

 

ประวัติ
ในต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างวัดขึ้นในพื้นที่พระนครชั้นใน ในปี พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โดยมีพื้นที่ตั้งอยู่ในดงสะแก เป็นที่ลุ่มจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถมที่และสร้างเป็นวัด และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า "วัดสุทัศน์เทพวราราม" ปรากฏในจดหมายเหตุว่า "วัดสุทัศน์เทพธาราม" และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี", "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี"  ภายในวัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี

 

พระอุโบสถ
พระอุโบสถของวัดสุทัศน์ จัดว่าเป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พระประธานภายในพระอุโบสถ คือ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทั้งพระอุโบสถและพระประธานนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังด้านในของพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดเจดีย์ มีลักษณะแปลกตาและงดงามมาก รอบ ๆ พระอุโบสถ มีซุ้มเสมา 8 ซุ้ม ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว เป็นใบเสมาคู่ซึ่งทำจากหินอ่อนสีเทา สลักเป็นภาพช้าง 3 เศียร งวงชูดอกบัวตูมเศียรละ 1 ดอก เบื้องบนมีดอกบัวบาน 3 ดอก บนกำแพงแก้วด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีเกยอยู่ด้านละ 4 เกย ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับประทับโปรยทานแก่ประชาชนในงานพระราชพิธี เรียกว่า "เกยโปรยทาน"

 

เปรตวัดสุทัศน์
ที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีเรื่องเล่าขานกันถึงเปรต สัตว์ที่เกิดในอบายภูมิตามความเชื่อของพุทธศาสนาและชาวไทย ว่ามีเปรตเคยปรากฏอยู่ที่นี่ โดยเรื่องนี้อาจมีที่มาจากภายในพระวิหารมีภาพวาดบนเสาด้านข้างขององค์พระศรีศากยมุนี เป็นภาพจิตรกรรมที่วาดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรูปหนึ่งเป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่และมีพระสงฆ์กำลังยืนพิจารณาสังขาร ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่ร่ำลือกันว่าหากใครได้มีโอกาสไปกราบไหว้พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวง ต้องไปดูรูปจิตรกรรม "เปรตวัดสุทัศน์" ที่ขึ้นชื่อนี้ จนมีคำกล่าวคล้องจองกันว่า "แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์"

 

นอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องเล่ากันจากปากต่อปากว่า ในอดีตที่บริเวณหน้าพระวิหารหลวงนี้ มีผู้พบเห็นเปรตในเวลาค่ำคืนบ่อย ๆ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ขณะที่ยังทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ ในเวลาประมาณ 3 ทุ่ม ยังเคยเปรยกับเปรต ความว่า "อยู่ด้วยกันนะ อย่าให้ชาวบ้านได้เดือดร้อน" จากนั้นเปรตก็ไม่มาปรากฏอีกและมีความเป็นไปได้ว่า เปรตวัดสุทัศน์ อาจเป็นความเข้าใจผิดของผู้ที่มองเห็นเสาชิงช้าที่อยู่บริเวณหน้าวัดในเวลาเช้ามืดที่หมอกลง หรือทัศนวิสัยไม่ดี แล้วสำคัญผิดว่าเป็นเปรต หรืออาจจะมีที่มาจากพระราชนิพนธ์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเคยนิพนธ์เรื่อง "เปรตสะพานหัน" ที่ทรงเปรียบขอทานที่สะพานหันว่าเหมือนเปรต และมีการนำไปเปรียบเทียบกับขอทานที่อาศัยอยู่หน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ที่อยู่ใกล้เคียง 

 

ลำดับเจ้าอาวาส
1. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่)
2. พระพิมลธรรม (อ้น)
3. สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)
4. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
5. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน)
6. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ)
7. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี)
8. พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต)

 

ภาพพระประธานทั้ง 3 องค์

1.พระศรีศากยมุนี

เป็นพระประธานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 3 วา 1 คืบ นับเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในยุคก่อน 25 พุทธศตวรรษ เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ให้อัญเชิญมายังกรุงเทพ ฯ ได้มีพระราชดำริจะสร้างพระอาราม ที่มีพระวิหารใหญ่อย่างวัดพนัญเชิงที่อยุธยา โดยประดิษฐานไว้กลางพระนคร เมื่อชลอพระศรีศากยมุนีมาถึงกรุงเทพ ฯ แล้วให้ประทับท่าสมโภช 7 วัน แล้วจึงทรงชักเลื่อนองค์พระทางสถลมารค และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินตามขบวนแห่พระในรัชสมัยของพระองค์ ทำได้เพียงอัญเชิญองค์พระขึ้นตั้งไว้ ตัววิหารลงมือสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยตรงใต้ฐานที่ผ้าทิพย์บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ส่วนด้านหลังบัลลังก์พระพุทธรูปมีแผ่นศิลาสลัก
เป็นศิลปะแบบทวารวดี เป็นรูปสลักปิดทอง ปางยมกปาฏิหาริย์ และ ปางประทานเทศนาในสวรรค์ เป็นของเก่าและหาดูได้ยาก เข้าใจว่าจะมีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก

 

 

 

2.พระพุทธตรีโลกเชษฐ์
เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุโลหะ หน้าตักกว้าง 3 วา 17 นิ้ว สูง 4 วา 18 นิ้ว ปัจจุบัน ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม พระอุโบสถเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองงาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่มี ความยาวที่สุดในประเทศไทย ผนังภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3  เมื่อสถาปนาพระอารามแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ สร้างพระพุทธประธาน เป็นพระ พุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดอัญเชิญพระศรีศาสดาซึ่งอยู่บนฐานเดิมไปยังวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ พ.ศ. 2407 โปรดสร้างพระอสีติมหาสาวกจำนวน 80 องค์ สร้างด้วยปูนปั้นลงสี นั่งพนมมือฟังพระ บรมพุทโธวาทเบื้องพระพักตร์องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

3.พระพุทธเสรฏฐมุนี

 

ขอขอบคุณข้อมูลที่มาจาก  :  https://th.wikipedia.org/wiki/วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

ขอขอบคุณรูปภาพจาก  :   https://www.facebook.com/papaiwatofficial/